วันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2557

จูฬศีล




ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ภิกษุทั้งหลาย เวลานี้พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร พูดเรื่องอะไรค้างไว้

 “ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ เมื่อพวกข้าพระพุทธเจ้าลุกขึ้นเวลาใกล้รุ่งได้สนทนากันในหอนั่งว่า ‘ท่าน ผู้มีอายุ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเป็นพระ อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นทรงทราบว่าสัตว์มีอัธยาศัยต่างกัน ดังที่สุปปิยปริพาชกผู้นี้กล่าวติเตียนพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์หลายอย่าง ส่วน พรหมทัตมาณพผู้เป็นศิษย์ของเขากลับกล่าวยกย่องพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์หลายอย่าง อาจารย์กับศิษย์มีถ้อยคำขัดแย้งในลักษณะตรงกันข้ามขณะเดินตามหลังพระผู้มีพระภาคและภิกษุสงฆ์ไป’ เรื่องนี้แลที่พวกข้าพระพุทธเจ้าพูดค้างไว้ ก็พอดีพระผู้มีพระภาคเสด็จมาถึง พระพุทธเจ้าข้า”

 ภิกษุทั้งหลาย ถึงคนพวกอื่นจะพึงกล่าวยกย่องเรา กล่าวยกย่องพระธรรมหรือกล่าวยกย่องพระสงฆ์ก็ตาม พวกเธอไม่ควรทำความรื่นเริงดีใจหรือกระหยิ่มใจต่อคนพวกนั้น ถ้าพวกเธอทำความรื่นเริงดีใจหรือกระหยิ่มใจต่อพวกเขา พวกเธอก็จะประสบอันตรายเพราะความรื่นเริงดีใจนั้นได้เช่นกัน คำยกย่องนั้น ถ้าเป็นเรื่องจริง พวกเธอควรยืนยันให้เขารู้ชัดลงไปว่า ‘เรื่องนี้เป็นเรื่องจริง ถูกต้อง มีอยู่และปรากฏในพวกเรา’

. พระสมณโคดมทรงละทรงเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑาวุธและศัสตราวุธ มีความละอาย มีความเอ็นดู มุ่งหวังประโยชน์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่
. พระสมณโคดมทรงละทรงเว้นขาดจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ รับเอาแต่ของที่เขาให้ มุ่งหวังแต่ของที่เขาให้ ไม่ทรงเป็นขโมยเป็นคนสะอาดอยู่
. พระสมณโคดมทรงละพฤติกรรมอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์๒ เว้นห่างไกลจากเมถุนธรรม๓ อันเป็นกิจของชาวบ้าน
. พระสมณโคดมทรงละทรงเว้นขาดจากการพูดเท็จ คือ ตรัสแต่คำสัตย์ดำรงความสัตย์ มีถ้อยคำเป็นหลัก เชื่อถือได้ ไม่หลอกลวงชาวโลก
. พระสมณโคดมทรงละทรงเว้นขาดจากคำส่อเสียด คือ ฟังความจากฝ่ายนี้แล้วไม่ไปบอกฝ่ายโน้นเพื่อทำลายฝ่ายนี้ หรือฟังความฝ่ายโน้นแล้วไม่มาบอกฝ่ายนี้เพื่อทำลายฝ่ายโน้น สมานคนที่แตกกันส่งเสริมคนที่ปรองดองกัน ชื่นชมยินดีเพลิดเพลินต่อผู้ที่สามัคคีกันตรัสแต่ ถ้อยคำที่สร้างสรรค์ความสามัคคี
. พระสมณโคดมทรงละทรงเว้นขาดจากคำหยาบ คือ ตรัสแต่คำไม่มีโทษ ไพเราะ น่ารัก จับใจ เป็นคำของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่พอใจ
. พระสมณโคดมทรงละทรงเว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ คือ ตรัสถูกเวลาตรัสคำจริง ตรัสอิงประโยชน์ ตรัสอิงธรรม ตรัสอิงวินัย ตรัสคำที่มีหลักฐาน มีที่อ้างอิง มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์ เหมาะแก่เวลา
. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการพรากพืชคามและภูตคาม
. พระสมณโคดมเสวยมื้อเดียว ไม่เสวยตอนกลางคืน ทรงเว้นขาดจากการเสวยในเวลาวิกาล๑
๑๐. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรีและดูการละเล่นที่เป็นข้าศึกแก่กุศล
๑๑. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการทัดทรง ประดับ ตกแต่งร่างกายด้วยพวงดอกไม้ของหอมและเครื่องประทินผิวอันเป็นลักษณะแห่งการแต่งตัว
๑๒. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากที่นอนสูงใหญ่
๑๓. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการรับทองและเงิน
๑๔. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบ๒
๑๕. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ
๑๖. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี
๑๗. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการรับทาสหญิงและทาสชาย
๑๘. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการรับแพะและแกะ
๑๙. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการรับไก่และสุกร
๒๐. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา
๒๑. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการรับเรือกสวนไร่นาและที่ดิน
๒๒. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการทำหน้าที่เป็นตัวแทนและผู้สื่อสาร
๒๓. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการซื้อขาย
๒๔. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการโกงด้วยตาชั่ง ด้วยของปลอมและด้วยเครื่องตวงวัด
๒๕. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวงและการตลบตะแลง หรือ
๒๖. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการตัด(อวัยวะ) การฆ่า การจองจำ
การตีชิงวิ่งราว การปล้นและการขู่กรรโชก

วันพุธที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2557

นิกายเถรวาท


มหานิกาย  
มหานิกาย  เป็นคำเรียกนิกาย หรือคณะของพระสงฆ์ไทยสายเถรวาท  ลัทธิลังกาวงศ์[1]ซึ่งเป็นพระสงฆ์ส่วนใหญ่ในประเทศไทย เป็นฝ่ายคันถธุระ
เดิมนั้น คำเรียกแบ่งแยกพระสงฆ์สายเถรวาทในประเทศไทยออกเป็น มหานิกาย และ ธรรมยุติกนิกาย ยังไม่มี
เนื่องจากคณะพระสงฆ์ไทยในสมัยโบราณ ก่อนหน้าที่จะมีการจัดตั้งคณะธรรมยุตขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 นั้น ไม่มีการแบ่งแยกออกเป็นนิกายต่าง ๆ จนเมื่อพระวชิรญาณเถระ หรือเจ้าฟ้ามงกุฏ (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4) ได้ก่อตั้งนิกายธรรมยุตขึ้นในปี พ.ศ. 2376 แยกออกจากคณะพระสงฆ์ไทยที่มีมาแต่เดิม และพระองค์คิดคำเรียกพระสงฆ์ส่วนใหญ่ในประเทศไทยที่เป็นสายเถรวาทลังกาวงศ์เดิมว่ามหานิกาย  ซึ่งคำ มหานิกาย  
             สรุป มหานิกายก็คือ พระสงฆ์สายเถรวาทลังกาวงศ์ดั้งเดิมในประเทศไทยส่วนใหญ่ที่ไม่ใช่พระสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย 

คณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย
พระสงฆ์คณะธรรมยุติกนิกาย หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า ธรรมยุต เป็นผลจากการฟื้นฟูพระพุทธศาสนา และการแก้ไขวัตรปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะผนวชอยู่ เป็นเหตุให้มีพระราชดำริในอันที่จะฟื้นฟูการสั่งสอนพระพุทธศาสนา และการประพฤติปฏิบัติของพระสงฆ์ให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยตามที่ได้ทรงศึกษา  แล้วพระองค์ได้ทรงนำประพฤติปฏิบัติขึ้นก่อน หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ ทรงเริ่มแก้ไขที่พระองค์เองเป็นอันดับแรก  ต่อมาเมื่อมีบุคคลอื่นเห็นชอบและนิยมตาม จึงได้มีผู้ประพฤติปฏิบัติตามอย่างพระองค์ขึ้น และมีจำนวนมากขึ้นเป็นลำดับ จนเกิดเป็นพระสงฆ์หมู่หนึ่ง หรือนิกายหนึ่ง ที่ได้ชื่อในภายหลังว่า ธรรมยุติกนิกาย หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า ธรรมยุต
อันมีความหมายว่า ผู้ประกอบด้วยธรรม หรือชอบด้วยธรรม หรือยุติตามธรรม โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการ ให้ประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ขึ้น เป็นครั้งแรกในประเทศไทย พระราชบัญญัติฉบับนี้มีชื่อว่า พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 มีสาระสำคัญคือได้ยกสถานะคณะธรรมยุต ให้เป็นนิกายอย่างถูกต้องตามกฎหมา
นิกายธรรมยุต ตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปฏิรูปและฟื้นฟูด้านวัตรปฏิบัติของสงฆ์ ให้มีความถูกต้องและเข้มงวดตามพุทธบัญญัติ ให้พระภิกษุสงฆ์มีวัตรปฏิบัติที่เคร่งครัดถูกต้องตามพระวินัยปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้องดีงาม ศึกษาพระปริยัติธรรมอย่างเข้าใจแจ่มแจ้ง เป็นการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในส่วนที่บกพร่องของพระสงฆ์ไทยที่มีมาแต่โบราณ ให้สมบูรณ์ทั้งพระวินัยปิฎกและพระสุตตันตปิฎก ซึ่งเป็นความพยายามของพระวิชรญาณเถระเพื่อช่วยปฏิรูปการคณะสงฆ์และเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองอย่างบริบูรณ์ขึ้นในประเทศไทย
การก่อตั้งคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย เป็นสาเหตุทำให้พระสงฆ์เถรวาทอื่นซึ่งเป็นพระสงฆ์ส่วนใหญ่ที่ไม่ใช่คณะธรรมยุต ได้มีการประชุมและมีมติให้เรียกพระสงฆ์ส่วนใหญ่ที่ไม่ใช่คณะธรรมยุต ว่า มหานิกาย